วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

คลื่นพายุซัดฝั่ง (STORM SURGE)

คลื่นพายุซัดฝั่ง (STORM SURGE)
ภัยพิบัติเป็นหายนะของมนุษย์ที่มีชีวิตบนโลก มนุษย์เกิดภัยพิบัติที่เกิดจากธรรมชาติมานับครั้งไม่ถ้วน บทเรียนเท่าที่บันทึกได้สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมากมาย  การเตือนภัยเรื่องภัยพิบัติ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเตรียมการเพื่อรับมือและป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นโดยที่ไม่คาดคิด ชีวิตและทรัพย์สินที่เสียหายอาจทุเลาบรรเทาลง  เรื่องราวคำเตือนเรื่องคลื่นพายุซัดฝั่ง หรือ STORM SURGE เป็นเรื่องใหม่สำหรับคนไทย ด้วยนายสมิทธ ธรรมสโรช ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้ออกคำเตือนเรื่องนี้ ทำให้เป็นข่าวคราวและการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง คำว่า STORM SURGE เป็นคำใหม่ ที่กล่าวถึงพายุที่เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ ที่เกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าฝั่ง เกิดขึ้นได้ จะต้องเกิดพายุที่มีความรุนแรงตั้งแต่ระดับโซนร้อนขึ้นไป และมีความเร็วลมมากกว่า 100 กม./ชม. พัดเข้าหาฝั่งก่อน จึงจะทำให้เกิดขึ้นได้ เมื่อเกิดพายุจะมีแรงกด ยกระดับน้ำทะเลให้สูงกว่าปกติ กลายเป็นโดมน้ำขนาดใหญ่ ซัดจากทะเลเข้าหาฝั่งอย่างรวดเร็วรุนแรง
อดีตที่ผ่านมา ไม่เคยเกิด Storm Surge ในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน ไม่เคยเกิดพายุพัดจากทิศใต้เข้าสู่อ่าวไทยตอนบนที่เป็นสาเหตุให้เกิดพายุซัดฝั่งเข้าสู่กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงครามและ เพชรบุรี ได้ง่ายนักเนื่องจากพายุ ที่พัดผ่านภาคกลาง หรือ จะผ่านมาจากประเทศเวียดนามและกัมพูชา โดยเฉพะปลายแหลมญวนจะเป็นแนวป้องกันให้ลดความรุนแรงของพายุลง แต่เนื่องจากความไม่ประมาทการเกิดพายุนากิสในประเทศพม่า จนทำให้เกิดการสูญเสียอย่างมากมายเนื่องจากทิศทางของพายุ เปลี่ยนแปลงไปตามทิศทางเดิมที่จะเข้าประเทศบังคลาเทศ แต่กลับเข้าสู่พม่าทำให้น้ำทะเลท่วมบริเวณชายฝั่งและกินพื้นที่กว้างหลายพันตารางกิโลเมตร ซึ่งพื้นที่ของชายฝั่งทะเลของพม่าและไทยมีความลาดชันน้อยเช่นเดียวกัน โอกาสเช่นนี้กับประเทศไทยคงไม่เกินร้อยละ 0.5  แต่อย่างไรก็ตาม คำเตือนเรื่องสินามิ เป็นบทเรียนพิบัติภัยได้เป็นอย่างดีถึงความเสียหาย  คำเตือนทั้งหลายเป็นสิ่งที่ทำให้ชุมชนตั้งในความไม่ประมาทและเตรียมตัวได้พร้อมในการรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นและสร้างความตระหนักจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้มากกว่าอ่าวไทยตอนใน เหตุการณ์ที่มีความคล้ายคลึงกัน เคยเกิดขึ้นที่เพชรบุรี เมื่อเกิดพายุลินดาความสูงของคลื่นมากกว่า  5 เมตร ที่ระดับน้ำทะเลสูงสุด อาคารบ้านเรือนที่อยู่ชายฝั่งได้รับความเสียหายไปบ้าง แต่ในคราวนั้นความเร็วของลมได้ลดลงน้ำทะเลจึงไม่ท่วมเข้ามามากในพื้นที่แต่พายุและฝนตกหนักก็สร้างความเสียหายให้จังหวัดเพชรบุรีเป็นบริเวณกว้างจากภาวะน้ำท่วม
ปรากฏการณ์คลื่นซัดฝั่งจะเกิดพร้อมกับพายุโซนร้อน มีฝนตกหนัก พื้นที่ชายฝั่งจะมีแรงกดที่ยกระดับน้ำทะเลให้สูงขึ้นกว่าปกติ อันเนื่องมาจากความกดอากาศต่ำที่ปกคลุม ณ บริเวณนั้น ซึ่งขณะที่ความกดอากาศต่ำเคลื่อนผ่านศูนย์กลางของพายุ ซึ่งมีความเร็วลม มากกว่า 100  กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้แรงกดนั้นยกระดับน้ำจนกลายเป็นโดมขึ้นมา และเคลื่อนตัวจากทะเลเข้าหาฝั่ง จนสร้างความเสียหายต่อชีวิต อาคารบ้านเรือนและทรัพย์สินบริเวณชายฝั่ง  รูปแบบการเคลื่อนตัวที่เป็นเหมือนคลื่นขนาดใหญ่ แล้วพัดเข้าชายฝั่งของคลื่นนี้เป็นลักษณะเดียวกับคลื่นยักษ์สินามิ แต่แตกต่างกันที่ลักษณะการเกิดคือ สึนามิ เกิดจากปรากฏการณ์แผ่นดินไหวใต้ทะเล ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนส่งผลให้เกิดคลื่นพัดเข้าหาฝั่งแต่กับ Storm surge จะเกิดขึ้นโดยมีตัวแปรเป็นพายุ ยิ่งความกดอากาศต่ำเท่าไร ก็จะทำให้เกิดปรากฏการณ์คลื่นพายุมากขึ้นเท่านั้น หากจะวัดเป็นตัวเลขก็จะมีความหมายว่า ความกดอากาศที่ลดลง 1 มิลลิบาร์ จะทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น 1 เซนติเมตร  สำหรับความเสียหายนั้น จะเลวร้ายกว่า สึนามิ เพราะการเกิดคลื่นซัดฝั่ง (Storm surge ) จะเกิดพร้อมพายุซึ่งแน่นอนว่าเป็นวันที่ท้องฟ้าปั่นป่วน  ไม่แจ่มใส สภาพอากาศเลวร้าย มีการก่อตัวของเมฆฝน ฝนตกอย่างหนัก ลมพัดแรง บริเวณชายฝั่งมีคลื่นแรงขึ้นเรื่อยๆ แต่เมื่อศูนย์กลางพายุเคลื่อนเข้ามาจะหอบเอาโดมน้ำขนาดใหญ่ซัดเข้ามาอีกครั้ง ความเสียหายจะเพิ่มเป็นทวีคูณ 
แต่อย่างไรก็ตาม การเกิดคลื่นพายุซัดฝั่งจะมีข้อดีอยู่อย่างหนึ่งคือสามารถพยากรณ์ได้จากความกดอากาศและรายงานอากาศได้ล่วงหน้า ดังนั้นจะมีการเตือนภัยจากกรมอุตุนิยมวิทยาและสถานีตรวจอากาศและรู้ล่วงหน้าได้หลายวัน มีเวลาในการ   เตรียมการและอพยพได้ทันสำหรับเราชาวเพชรบุรี อย่าตกใจต่อการเตือนภัย เพราะเป็นการเตือนเพื่อเตรียมการ ถ้าเราได้เตรียมการเราทุกคนก็จะปลอดภัย
                                                                             อาคเณย์  กายสอน
                                                               ที่นี่เพชรบุรี     16   กันยายน  2551

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น