วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

น้ำมันบนดิน


                จังหวัดเพชรบุรีมีโครงการที่ต้องการทำขยะให้เป็นศูนย์  โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีเป็นประธานในการจัดทำโครงการ  โดยมีท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรีเป็นเจ้าของโครงการ ความหมายสำคัญของโครงการคือต้องการให้การจัดการขยะในจังหวัดเพชรบุรี สามารถจัดการโดยมีผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด คือจัดการขยะที่ต้นทางโดยมีการแยกขยะที่จะจัดการให้ได้ตามประเภทของการจัดการ   ชุมชนและครัวเรือนต้องมีการแยกให้กับท้องถิ่นผู้รับผิดชอบในการเก็บขยะและจัดการในลำดับต่อไป   กระบวนการจัดการขยะในจังหวัดเพชรบุรีขณะนี้หน่วยงานที่สามารถทำได้เป็นรูปธรรมมากที่คือ องค์การบริหารส่วนตำบลไร่ส้มร่วมกับวิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบุรีและชมรมนักพัฒนาอุตสาหกรรมไทย
            ขยะที่มีปัญหาในการจัดเก็บมากที่สุดคือขยะย่อยสลายขยะที่มาจากธรรมชาติหรือสิ่งมีชีวิตที่ย่อยสลายและเน่าเสียง่ายและส่งกลิ่นเหม็น เช่น เศษซากพืช เศษอาหาร ซากสัตว์ ผักผลไม้เศษซากพืช ข้าวขนมเปลือกผลไม้ ผลไม้เน่า ผักใบตองสดแห้ง ใบตองห่อขนมนึ่งหรือปิ้งเศษอาหาร แกงต้มผัก ใบไม้ใบหญ้า กระดาษที่เปียกชุ่มเลอะเทอะ (ไม่รวมกิ่งไม้) เศษซากสัตว์ นม เนย เนื้อสัตว์ เปลือกไข่ไข่ เปลือกกุ้ง กระดองปู ก้างปู ก้างปลา กระดูกสัตว์ แต่ในทางกลับกันในการกำจัดสามารถเปลี่ยนรูปของที่เน่าเหม็นเหล่านี้ให้กลายเป็นปุ๋ยคุณภาพดีเป็นที่ต้องการในการเพาะปลูกในเวลาเพียงวันเดียวโดยการบดให้ละเอียดและหลักเป็นปุ๋ยน้ำและปุ๋ยแห้งเพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับภาคการเกษตร ลดการให้ปุ๋ยเคมี รักษาดินให้อุดมสมบูรณ์และยั่งยืนต่อไป
            พลาสติกเป็นขยะที่การจัดเก็บไม่ยากมากนัก แต่การจัดการมีปัญหาเพราะการย่อยสลายไทยต้องเผชิญกับปัญหาการจัดการขยะพลาสติกภายใน ประเทศถึงปีละ 2.7 ล้านตัน แต่สามารถรีไซเคิลไปใช้ใหม่ได้เพียงปีละ 0.7 ล้านตัน ที่เหลือเป็นการทำลายด้วยการฝั่งกลบ หรือเผาทิ้งถึงปีละ 2.5ล้านตัน ซึ่งทำให้เกิดมลภาวะกับโลก การเผาถือเป็นการทำลายชั้นบรรยากาศ ขณะที่การฝังกลบต้องใช้เวลากว่า 100 ปี กว่าพลาสติกเหล่านี้จะย่อยสลายและในจำนวนพลาสติกที่ทิ้งไปกว่าปีละ 2.5 ล้านตันนั้น พบว่ามีพลาสติกอยู่ 4 ชนิด ที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็นน้ำมันได้ ประกอบด้วย HDPE ปริมาณ 1.0 ตัน LDPE ปริมาณ 0.7 ล้านตัน PP ปริมาณ 0.4 ล้านตัน และอื่นๆ อีก 0.4 ล้านตัน การผลิตน้ำมันจากพลาสติกโดยเตาผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติกนั้น เกิดจากการทำพลาสติกให้ได้รับความร้อนประมาณ 420 องศาจากนั้นพลาสติกก็จะหลอมละลายเป็นของเหลว และเปลี่ยนสภาพเป็นแก๊ส เมื่อแก๊สถูกทำให้เย็นก็จะมี wax เกิดขึ้นจึงต้องมีการดัก wax ก่อน พร้อมกับปรับสภาพของแก๊สจากนั้นจะถูกส่งไปควบแน่นด้วยระบบหล่อเย็นจนเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนแก๊สที่ไม่ถูกกลั่นตัวก็จะถูกนำไปให้ความร้อนแก่ หัวเผาแก๊สเพื่อให้ความร้อนกับตัวเอง สำหรับน้ำมันที่ได้จากการกลั่นนั้น สามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิงของเครื่องให้ความร้อนได้โดยตรงหรือนำไปเป็นน้ำมันพื้นฐานเข้าสู่กระบวนการกลั่นโดยโรงกลั่น เช่น ปตท. และบางจาก หรืออาจจะเข้าสู่โรงกลั่นที่ออกแบบเฉพาะสำหรับน้ำมัน ส่วนนี้ ส่วนการที่จะนำไปใช้กับเครื่องยนต์นั้นควรต้องมีการ ปรับสภาพของน้ำมันหรือผสมก่อนจึงจะสามารถนำไปใช้ได้ โดยกระบวนการดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งทางน้ำ อากาศ หรือกลิ่นรบกวนอันมีผลต่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน และยังเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนอีกทางหนึ่งด้วยการพัฒนาพลังงานทดแทนซากขยะพลาสติก โดยการแปรรูปเป็นน้ำมันนั้น นับว่าเป็นการสร้างมูลค่าอย่างสูง จากการให้บริการกำจัด และบำบัดขยะพลาสติกประเภทต่างๆ อีกทั้งยังสามารถดำเนินการได้อย่างยั่งยืนเนื่องจากมีปริมาณขยะนับล้านล้านตัน ที่ฝังกลบอยู่ เป็นแหล่งวัตถุดิบ ที่มั่นคงระยะยาว รวมกับปริมาณขยะชุมชนของประเทศไทยวันละ ประมาณ 43,000 ตัน โดยจะมีขยะพลาสติกเป็นองค์ประกอบอยู่ประมาณ4,300-6,450 ตันต่อวัน จึงเป็นแหล่งวัตถุดิบที่เพิ่มเติมได้อย่างไม่มีวันหมด และเครื่องจักรดังกล่าว สามารถติดตั้งและดำเนินการได้ในทุกท้องถิ่น
             สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการผลิต  น้ำมันดิบที่ได้แยกเป็นดีเซล 50% น้ำมันเตา 30% และเบนซิน 20% ขึ้นอยู่กับชนิดและคุณภาพของขยะพลาสติก นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานขอให้บริษัท Thai Oil, ปตท., บางจาก และ IRPC มาร่วมมือกับซื้อผลิตภัณฑ์ไปแปรรูปทดแทนการนำเข้าน้ำมันดิบได้ และจะมีการศึกษาวิจัยต่อยอด       อย่างไรก็ตาม ปตท.ได้เก็บตัวอย่างน้ำมันดิบที่ผลิตจากขยะพลาสติกมาทดสอบแล้ว พบว่ามีมาตรฐานดีกว่าน้ำมันดิบเกรดดูไบ และมีค่าซัลเฟอร์ต่ำกว่าค่ามาตรฐานเป็นประโยชน์กับสิ่งแวดล้อม สามารถกลั่นเป็นน้ำมันเบนซินและดีเซลได้ จะขายน้ำมันดิบให้โรงกลั่นในราคาลิตรละ 18 บาท และที่น่าสนใจคือ น้ำมันดิบจากเทคโนโลยีนี้สามารถใช้เป็นพลังงานเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ดีเซลรอบต่ำได้เลย
        “ขยะพลาสติกที่ใช้ได้ มีถุงก็อบแก๊บ ขวดขุ่น ๆ ถุงปุ๋ย กล่องน้ำผลไม้ที่มีพลาสติก PE ผสม 30% สามารถผลิตน้ำมันได้ สำหรับขวดพลาสติกใสก็ทำได้แต่ถ้านำไปรีไซเคิลจะได้ประโยชน์มากกว่า ในไทยมีขยะพลาสติกที่ไม่สามารถจำกัดได้เกือบ 3 ล้านตันต่อปี”   ถ้าหากขุดมาพบว่านำดินมาทำปุ๋ยพลาสติกใช้แปรรูปเป็นน้ำมันได้ หลุมฝังกลบขยะที่ไม่น่าสนใจเปรียบเหมือนบ่อน้ำมันที่สามารถขุดขยะขึ้นมากลั่นน้ำมันได้ นี่คือพลังงานทดแทน เป็นทางเลือกใหม่การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
            ทุกท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรีถ้าหากได้รับนโยบายท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ในการจัดการขยะให้เป็นศูนย์ แยกเศษอาหารหรือของเน่าเสียออกจากขยะปกติ แยกพลาสติกนำกลับไปใช้ใหม่ กลั่นเป็นน้ำมัน ของเน่าเสียมาเป็นปุ๋ย เศษวัสดุมาเป็นสิ่งก่อสร้าง ปัญหาขยะจะหมดไป โลกก็ไม่ร้อน วิถีชีวิตก็ยั่งยืน ถ้าคิดว่าจะทำได้อย่างไร ก็ให้มาดูงานที่วิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบุรี
                                                                                   
                                                                      อาคเณย์  กายสอน
                                                                ที่นี่เพชรบุรี   1  เมษายน   2553



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น