วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

โดมความร้อนในเมืองกับปัญหาอากาศร้อน

         อากาศร้อนในปีนี้น่าทำลายสถิติ อากาศร้อนในรอบหลายสิบปีทีผ่านมา จังหวัดเพชรบุรีอาจจะร้อนจัดอุณหภูมิสูงกว่าทีเคยเก็บข้อมูลและสถิติที่เคยผ่านมา ยังไม่ทำลายสถิติของประเทศ ถ้าหากได้ตรวจตราข่าวสารเกี่ยวกับความร้อนที่ผ่านมาจะพบข้อมูล เช่น (11พ.ค.) ตามที่กรมอุตุฯพยาการณ์อากาศวันที่ 10 พ.ค. ว่าพื้นที่ตั้งแต่ภาคกลางขึ้นไปอุณหภูมิอากาศจะสูงสุดประมาณ 39-43 องศาโดยเฉพาะภาคเหนืออากาศจะร้อนจัด  นายสมิทธ ธรรมสโรช     ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ก็กล่าวถึงสภาพอากาศที่แปรปรวน โดยมีอากาศร้อนจัดสลับกับฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นนั้นเป็นปรากฎการณ์ที่เรียก ว่าปรากฏการณ์ เอลนีโญ ซึ่งขณะนี้มวลอากาศได้แปรปรวนแผ่ปกคลุมทั้งภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคเหนือ ส่งผลให้เกิดพายุฤดูร้อนพัดถล่มหลายจังหวัด
            ประเทศไทยอาจมีผลกระทบเรื่องความร้อนในบางพื้นที่โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ มีผลกระทบอย่างแน่นอนด้วยการสะสมความร้อนในเมือง   ด้วยสัดส่วนความแตกต่างกันระหว่างความหนาแน่นของ ประชากรกับพื้นที่สีเขียวต่างกันมาก   โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร และเขตเมืองอุตสาหกรรม เขตชุมชนที่อาศัยอย่างหนาแน่นปัจจัยเสริมจากการสะสมความร้อนผิวถนน  อาคารขนาดใหญ่  การระบายความร้อน
จากเครื่องยนต์นับแสนคัน เครื่องปรับอากาศนับล้านเครื่อง  เช่นกรุงเทพมหานคร  เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี  เป็นต้นสำหรับเมืองขนาดเล็กมีประชากรไม่หนาแน่นมาก  ใกล้กับเขตป่าไม้ขนาดใหญ่
แหล่งธรรมชาติเช่น นครนายก ระนอง อุทัยธานี เพชรบูรณ์   หรือชุมชนใกล้ป่า อุทยานแห่งชาติ อาจไม่ส่งผล เรื่องความร้อนมากนักด้วยมีพื้นที่ชุ่มชื้นช่วยระบายความร้อนได้บ้าง
   โดยภาพรวมประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน มีฝนตกอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิอยู่ระดับที่ไม่ร้อนจัด ด้วยกลไกอากาศบริเวณเส้นศูนย์สูตรเขตร้อนทำให้อากาศร้อน ยกตัวลอยสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ลักษณะการเกิดโดมความร้อนแบบรุนแรง แม้ยังไม่เคยเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ ก็ไม่มีสิ่งยืนยันว่าไม่เกิด เพราะองค์ประกอบที่จะทำให้เกิด คือความหนาแน่นของเมือง  ประกอบจาก อาคารซีเมนต์ อาคารกระจก ปริมาณรถยนต์ที่ปล่อยไอเสียออกมา พื้นถนนที่เป็นซีเมนต์ ยางมะตอย รวมถึงการระบายความร้อนจากเครื่องใช้ภายในบ้านที่คิดว่าเล็กน้อย เช่น ตู้เย็น ทีวี คอมพิวเตอร์ เตารีด ฯลฯ รวมถึง โรงงานอุตสาหกรรม เป็นการสะสมเก็บกักความร้อน จากสิ่งต่างๆ  ในเมืองแบบทวีคูณ  โอกาสของเมืองขนาดใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร จึงต้องมีความน่ากังวลในเรื่องอุณหภูมิ ต้องหลีกเลี่ยงทำการก่อสร้างในลักษณะปิดผิวดิน และขยายพื้นที่สีเขียวอย่างต่อเนื่องเป็นหนทางช่วยให้เกิดการระบายของการสะสมความร้อนเขตเมือง หากมีองค์ประกอบที่สอดคล้อง ในทางทฤษฎีแม้แต่เมือง มีประชากรน้อยเพียง 10,000 คน สามารถเกิดโดมความร้อนได้เช่นกัน ที่ผ่านมามักเกิด ด้านทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา เป็นสิ่งที่น่ากลัวมากมีผู้เสียชีวิตนับหมื่น จากบริเวณที่กว้าง และนานหลายสัปดาห์ ลักษณะเป็นโดม สังเกตว่า ต้นไม้ที่ปลูกไว้ในบ้าน ของเมืองใหญ่ จะพบอาการเฉาแดดในตอนกลางวันรวดเร็วขึ้นกว่าปกติ ด้วยค่ารังสีเข้มข้นจากดวงอาทิตย์

                 ผลกระทบเรื่อง สุขอนามัยประเทศไทยปัญหาสาธารณสุขจะกลายเป็นปัญหาอันดับต้นๆ จากสภาพภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะ เมื่อผนวกกับปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อม การเกิดของโรคมีอัตราชุกของโรคเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีปัจจัยทั้งสองดังกล่าว เป็นตัวสนับสนุนทำให้ประชากรจำนวนมาก พบกับปัญหาสุขภาพ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต่อสุขอนามัยได้ง่ายขึ้นสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้แสดงความเห็นไว้ในรายงาน แบ่งได้ 2 ประเภท คือ   ผลกระทบทางตรง .อุณหภูมิที่เปลี่ยนไป เป็นผลต่อความกดของอุณหภูมิ ความถี่ของการเกิดคลื่นความร้อน อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากมีความสัมพันธ์กับอัตราการเกิดความเจ็บป่วยและการตาย.ความถี่ของการเกิดภาวะที่อากาศเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็วมีความสัมพันธ์ต่อสถิติด้านสุขภาพ เช่น อัตราการเจ็บป่วยอัตราการตายการบาดเจ็บทั้ง ยังทำให้เกิดภาวะเครียดจากการต้องย้ายถิ่นฐาน  ผลกระทบทางอ้อม .เกิดโรคติดเชื้อ เนื่องจากปัจจัยด้านสุขอนามัยได้รับผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเช่นสูญเสียประสิทธิภาพด้านการสุขาภิบาลขาดแคลน น้ำสะอาด ขาดการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา เพราะรูปแบบและพื้นที่ในการระบาดเปลี่ยนแปลง โครงสร้างพื้นฐานของ การบริการด้านสุขภาพในท้องถิ่นมีจำกัด คุณภาพชีวิตต่ำลงจากสภาวะน้ำท่วมอย่างรุนแรง เป็นต้น .โรคที่เกิดจากแมลงเป็นพาหะ เช่น โรคมาลาเรีย โรคไข้เลือดออก ไข้เหลือง เปลี่ยนแปลงรูปแบบ และการแพร่กระจาย เนื่องจากพาหะของเชื้อมีความไวต่อการผันแปรของอุณหภูมิ อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเร่งวงจรชีวิต ของแมลงที่เป็นพาหะนำโรคทำให้ระยะฟักตัวของเชื้อลดลง และการแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วนอกจากนี้อุณหภูมิยังส่งผลต่อพฤติกรรมมนุษย์ในการสัมผัสเชื้อ ประเทศไทย ยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบเชื่อมโยงระหว่าง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและ การระบาดของโรคสองชนิดนี้.ปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิด การกระจายของน้ำผิวดิน และภาวะน้ำท่วม เพิ่มความเสี่ยง ในการที่อาหารและน้ำจะปนเปื้อนเชื้อ ที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง ในประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทยยังขาดการบริหารจัดการด้านสุขาภิบาลที่ดี .เกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาณ คุณภาพและรูปแบบผลิตภัณฑ์การเกษตร ปศุสัตว์ และการประมง เช่น ทำให้ผลผลิตตกต่ำ       ดินเค็ม สารอาหารลดลง ส่งผลในระยะยาวต่อสุขภาพ ทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารและความอดอยาก โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก .ภาวะจิตของประชากรที่ได้รับความกระทบกระเทือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ฝุ่นละอองที่เพิ่มมากขึ้นในเขตเมืองนอกจากนี้โรคทางเดินหายใจเหล่านี้ ยังเกิดจากการก่อรูปของสารพิษทางอากาศ ที่เพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิ และส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศ โดยทำปฏิกิริยาทางเคมีกับชั้นบรรยากาศ นอกจากนี้อุณหภูมิที่เพิ่มสูง เป็นตัวเร่งอันตราย จากมลภาวะทางอากาศในเมืองเป็นโดมความร้อน(ความร้อนที่สะสมมากอยู่ในเขตเมือง)อยู่แล้วจากสิ่งก่อสร้าง และการใช้พลังงาน ก่อให้เกิดปัญหาทางสุขอนามัย ผู้อยู่อาศัยในเมืองมากขึ้น ผลกระทบจากโดมความร้อน เขตเมืองต่อสุขภาพ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ คลื่นความร้อนอุณหภูมิอากาศที่สูงมากถือเป็นอันตรายมากต่อสุขภาพ โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ ในอดีตคลื่นความร้อนได้คร่าชีวิตผู้คนจำนวนมาก ในทวีปอเมริกา และยุโรป ส่วนประเทศไทย อันตรายจากอุณหภูมิสูงขึ้นในหน้าร้อนจะเพิ่มขึ้นหากความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง เนื่องจากในสภาพบรรยากาศเช่นนี้เหงื่อไม่สามารถระเหยและพาความร้อนออกจากร่างกายได้ ดังที่เรียกว่า ร้อนอบอ้าว ส่งผลให้ระบบ เมตาบอลิซึมในร่างกายล้มเหลวเป็นอันตรายถึงชีวิตในประเทศไทย คาดว่ามีผู้เสียชีวิตจากความร้อนสูงเป็นจำนวนไม่น้อยแต่จากรายงานการเสียชีวิตจาก Heat Stroke ของไทยนั้น ต่ำกว่าความเป็นจริงมากเนื่องจากการเสียชีวิตด้วยเหตุนี้วินิจฉัยยาก กอปรกับประชาชนขาดการตระหนักถึงภาวะดังกล่าว และในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการวิจัยผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อ อัตราการตายด้วยความร้อน
                  การป้องกันด้วยความเข้าใจในการใช้วิถีชีวิตอย่างพอเพียงในด้านต่างๆ เป็นสำคัญลดอัตราการเสี่ยงต่อสุขอนามัยได้ เช่นการหลีกเลี่ยงอพยพสู่เมืองใหญ่ใช้ชีวิตในบ้านเกิดด้วยการสร้างผลผลิตทางเกษตร ท่ามกลางธรรมชาติบริสุทธิ์ไม่ต้องผจญภัยกับสภาพแวดล้อมที่อันตราย ถึงแม้จะมีรายได้ที่ดีในเมืองใหญ่ แต่หลังจากนั้นอาจต้องประสบปัญหาด้านสุขภาพและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา ช่วยกันปลูกต้นไม้ ทำให้บ้านเรามีต้นไม้ให้มากๆ ความร้อนก็จะลดลงไปเอง เมืองเพชรบุรีก็จะเป็นเมืองน่าอยู่เมืองหนึ่งของโลก

                                                                                                       อาคเณย์   กายสอน
                                                                    ที่นี่เพชรบุรี   15  พ.ค. 53

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น