วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

ภาวะโลกร้อนกับข้อมูลที่น่าสนใจ



         ภาวะโลกร้อน หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก ค่ะ ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปีซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน
ภาวะโลกร้อนภายในช่วง 10 ปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มานี้ ได้มีการบันทึกถึงปีที่มีอากาศร้อนที่สุดถึง 3 ปีคือ ปี พ.ศ. 2533, พ.ศ.2538 และปี พ.ศ. 2540 แม้ว่าพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังมีความไม่แน่นอนหลายประการ แต่การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ได้เปลี่ยนหัวข้อจากคำถามที่ว่า "โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ" เป็น "ผลกระทบจากการที่โลกร้อนขึ้นจะส่งผลร้ายแรง และต่อเนื่องต่อสิ่งที่มีชีวิตในโลกอย่างไร" ดังนั้น ยิ่งเราประวิงเวลาลงมือกระทำการแก้ไขออกไปเพียงใด ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น
สรรพสิ่งในโลกนี้ได้รับอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล    และภูมิอากาศของโลกอยู่
ตลอดเวลา ซึ่งกำหนดความเป็นไปของสังคมโลกในภาคส่วนต่างๆ ฤดูกาลในแต่ละปีเกิดขึ้นจากการหมุนรอบตัวเองของโลกรอบๆแกนโลกและการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ (ในลักษณะเป็นวงรี) โดยมีการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติบอกการแบ่งฤดูกาลเป็นฤดูร้อน ฤดูหนาว หรือ ฤดูฝน ภูมิอากาศ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ซับซ้อน เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างพลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ ลักษณะชั้นบรรยากาศ พื้นผิวดิน หิมะและน้ำแข็ง ท้องน้ำต่างๆรวมถึงมหาสมุทร และสรรพสิ่งที่มีชีวิต ซึ่งสามารถอธิบายได้ในลักษณะของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน และแรงลม ในภูมิภาคต่างๆของโลกตามช่วงเวลาเป็นเดือนถึงเป็นล้านปี ปกติจะใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงในช่วง ๓๐ ปี หรืออีกนัยหนึ่ง ภูมิอากาศเป็นการสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ โดยเฉลี่ยของช่วงเวลาหนึ่ง ดังประมวลได้จากองค์ประกอบต่างๆ  ปรากฏการณ์เรือนกระจกเกิดจากการที่พื้นผิวของโลกพยายามรักษาสมดุลของพลังงานจากแสงอาทิตย์ กล่าวคือ แสงอาทิตย์ที่มีคลื่นความถี่สูงตกกระทบกับผิวโลก (บางส่วนสะท้อนกลับสู่อวกาศ) ผิวโลกดูดซับพลังงานเหล่านั้นไว้พร้อมปรับสมดุลย โดยการปล่อยพลังงานความร้อน (มีความถี่ต่ำ ) ออกสู่บรรยากาศ แต่ในบรรยากาศมีก้อนเมฆ (ไอน้ำ ) ก๊าซเรือนกระจก สะท้อนพลังงานความร้อนเหล่านั้นกลับคืนสู่โลก ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นในระดับที่เหมาะสม ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเป็นปกติตามสภาวะของระบบนิเวศน์ของโลกแสดงความสัมพันธ์กัน
สภาวะโลกร้อนที่เป็นวิกฤติในปัจจุบันเกิดขึ้น เพราะกิจกรรมมนุษย์ทำ ให้มีการ
ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเธน และก๊าซไนตรัสออกไซด์ ในปริมาณสูงมากทำให้อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว (.๗๔ องศาเซลเซียสในหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา) และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในอัตราที่เร็วขึ้นอีก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์ของโลกในอัตราเร็วขึ้น ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับสรรพสิ่งในโลก รวมถึงการคงอยู่ของมนุษย์สภาวะโลกร้อนขึ้นในอัตราเร็ว ทำให้ระดับไอน้ำที่ระเหยขึ้นสู่บรรยากาศในบริเวณท้องมหาสมุทรทั่วโลกมีมากขึ้น การปฏิสัมพันธ์ระหว่างการไหลเวียนไอน้ำในบรรยากาศและกระแสน้ำไหลเวียนในมหาสมุทร และคลื่นของแรงกดอากาศในมหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแอตแลติก (เช่นปรากฏการณ์เอลนิโน) ทำให้เกิดพายุฝนได้โดยง่ายและที่ความถี่มากขึ้น นั่นคือ ภูมิอากาศของโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและมีความรุนแรงตามเหตุและปัจจัยของการมีรายงานจากองค์การระหว่างประเทศว่า ได้ปรากฏเป็นความจริงในเชิงวิทยาศาสตร์ว่าพายุฝนที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและมีความรุนแรงมากขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติก เกิดจากการปะทะกันของกระแสน้ำเย็นและกระแสน้ำที่อุ่นกว่า ๑ องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นผลจากการละลายของภูเขาน้ำแข็งและธารน้ำแข็งในบริเวณขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ผลจากสภาวะโลกร้อนทำให้เกิดการละลายของภูเขาน้ำแข็งและธารน้ำแข็งของขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ และทำให้มวลน้ำทะเลขยายตัวมากขึ้นเพราะมีอุณหภูมิสูงขึ้น ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้น และกระแสน้ำทะเลเปลี่ยนทิศทาง จากการวิเคราะห์และตรวจวัดของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ปรากฏว่าระดับน้ำทะเลปานกลางทั่วโลกสูงขึ้นในอัตราปีละประมาณ ๑.๗ มิลลิเมตร จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลของระดับน้ำทะเลปานกลางทั่วโลกพบว่าระดับน้ำทะเลปานกลางสูงขึ้นในบริเวณ ละติจูด ที่ ๔๐ องศา ถึง ๖๐ องศา เหนือและใต้ขึ้นไป แต่ในประเทศไทยยังไม่มีผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมจากปรากฏการณ์ดังกล่าว
          ในส่วนของประเทศไทยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในประเทศไทยเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าทำให้การเกิดพายุฝนผิดฤดูกาลมากขึ้น และมีปริมาณฝนตกมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดน้ำท่วมในรอบสิบปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีพื้นที่รับน้ำอยู่ประมาณ ๕๑๒,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร มีน้ำฝนปีละประมาณ ๘ แสนล้านลูกบาศก์เมตร เป็นน้ำใช้ประมาณปีละ ๖ แสนลูกบาศก์เมตร และเป็นน้ำส่วนเกินที่ไหลลงสู่ทะเลและก่ออุทกภัยปีละประมาณ ๒ แสนลูกบาศก์เมตร ซึ่งจำเป็นต้องใช้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่เหมาะสม เพื่อป้องกันน้ำท่วมและภัยแล้งไปพร้อมกันการเกิดน้ำท่วมโดยรวมของประเทศไทยเกิดขึ้นส่วนหนึ่ง คือ การบริหารจัดการ
ทรัพยากรน้ำในลุ่มแม่น้ำหลัก ๒๕ ลุ่มน้ำอย่างไม่เหมาะสมและขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลและ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่เหมาะสมและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลการวัดระดับน้ำทะเลปานกลางในระยะเวลานานกว่า ๖๗ ปี ที่เกาะหลัก อ่าวสัต
หีบ และเกาะตะเภาน้อย แสดงแนวโน้มเชิงเส้นของค่าระดับน้ำทะเลปานกลางเฉลี่ยรายปีว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลปานกลางที่สูงขึ้นทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามันตามหลักอ้างอิงของระดับน้ำทะเลปานกลางของไทยที่กำหนดไว้ที่ เกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งประเมินไว้กว่า ๖๗ ปีแล้ว มีการเคลื่อนตัวอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของพื้นพิภพ เช่น การกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งทะเลและการเกิดการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งของไทยและแผ่นดินทรุดจากการใช้น้ำบาดาล จังหวัดเพชรบุรีไม่มีน้ำบาลดาลใช้เพราะคุณภาพต่ำก็อาจเป็นโชคดีที่แผ่นดินเพชรบุรีจะทรุดน้อยลง

                                                                  อาคเณย์  กายสอน

                                                                       ที่นี่เพชรบุรี
                                                                ๑๖   ธันวาคม   ๒๕๕๑ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น