วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

ป่าแก่งกระจานกับปัญหาโลกร้อน

ทีมข่าวเฉพาะกิจ ป่าแก่งกระจาน ( นสพ.ไทยรัฐ )


นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชี้ต้องเร่งศึกษา หวั่นกระทบเสนอมรดกโลก

จากกรณีที่มีเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและชาวบ้านใกล้เคียง ออกมาเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ออกมาแก้ไขปัญหาเถาวัลย์ลุกลามไปตามต้นไม้ใหญ่ในเขตอุทยานกินพื้นที่กว่า 30 % กินพื้นที่ทำลายต้นไม้ขนาดต่างๆไปแล้วกว่า 3 แสนไร่
ล่าสุดผู้สื่อข่าวเดินทางเข้าพบนายอาคเนย์ กายสอน รองผอ.วิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบุรี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.เพชรบุรี , นักวิชาการประจำคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภาและเป็นหนึ่งในคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม จ.เพชรบุรี และ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ออกมาเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาเชิงวนวัฒน์วิทยา (  วิชาที่ศึกษาว่าด้วยเรื่องของป่าไม้ ) นอกตำราคือยังไม่เคยมีข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างเถาวัลย์กับป่าแต่เดิมถือว่าอยู่ในภาวะพึ่งพิง แต่พื้นที่บางส่วนของอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเคยมีการให้สัมปทานป่าไม้และอาจจะเป็นการทำไม้ผิดวิธี โดยตัดไม้มากเกินกำลังจึงทำให้ไม้เบิกนำป่ารุ่นที่ 2 คือป่าที่กำลังฟื้นตัวโตทดแทนไม่ทันไม้เลื้อย เนื่องจากไม้เลื้อยรากตื้นกว่า ได้รับความชุ่มชื้นจากผิวดินที่อุดมสมบูรณ์ การตัดไม้เยอะทำให้ผิวดินถูกกัดเซาะ สารอาหารจากผิวดินลดน้อยลง ส่งผลกระทบกับไม้ยืนต้น แต่เถาวัลย์ไม้เลื้อยรากตื้นกว่าได้รับแหล่งอาหารจากผิวดินทำให้เติบโตเร็วปกคลุมพื้นที่ปกคลุมยอดของไม้ยืนต้นทำให้สภาพแวดล้อม อากาศ ถูกคลุมนานทำให้ไม้ยืนต้นโตช้าไม่ปกติ ยิ่ง 3 4 ปี ที่ผ่านมา เกิดสภาวะฝนแล้ง ฝนตกน้อย ยิ่งส่งผลกับระบบนิเวศน์ของป่ามากขึ้น ยิ่งทำให้เถาวัลย์โตมากขึ้นจนวันนี้ไม่น่าเชื่อว่าเถาวัลย์เหล่านี้จะทำให้สร้างความลำบากให้กับช้างป่าที่เดินหากิน รวมถึงสัตว์ใหญ่และสัตว์อื่น เพราะช้างป่าถือว่าเป็นสัตว์ที่จะเปิดเส้นทางเดินป่าให้กับสัตว์อื่น
            นายอาคเนย์ กายสอน ได้เปิดเผยถึงแนวทางการแก้ปัญหาว่า ตามทฤษฎีเดิมหากปล่อยไว้ตามธรรมชาติก็จะสามารถแก้ปัญหาได้เหมือนเดิม แต่ในครั้งนี้ไม่สามารถระบุได้ว่าจะใช้เวลานานเท่าไหร่ เพราะเถาวัลย์อายุไม่ยาวเมื่อล้มตายไป ไม้ใหญ่ก็ไม่สามารถขึ้นได้ ส่วนแนวทางที่จะแก้น่าจะเป็นไปได้ 2 วิธี คือลดจำนวนเถาวัลย์ โดยการตัดสางบางส่วน ส่วนอีกทางหนึ่งคือเร่งศึกษาวิจัยควบคู่กันไปเพราะสภาพแวดล้อมระบบนิเวศน์ที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เชื่อว่าเถาวัลย์มีการปรับตัวเข้ากับสภาวะแวดล้อมรูปแบบใหม่ เดิมฝนตกมีปริมาณน้ำฝนมากเป็นป่าดิบแล้ง แต่พอมีการสัมปทานป่าไม้ ทำให้สภาพป่าเปลี่ยนไปเป็นป่าแห้งแล้งประกอบกับปริมาณน้ำฝนน้อยลง ฤดูแล้งนานขึ้น ส่งผลให้เถาวัลย์มีการปรับตัวในสภาพแวดล้อมรูปแบบใหม่ จึงสร้างปัญหากับป่าแก่งกระจาน สุดท้ายนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะต้องพิจารณาแก้ไขอย่างเร่งด่วนคือระบบนิเวศน์ต้องการพื้นที่ป่ามากขึ้นเพื่อให้ระบบห่วงโซ่อาหารสมบูรณ์มากกว่าเพราะประชากรของสัตว์ป่าเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา ขณะนี้มีช้างป่า 200 300 ตัว เสือ กระทิง วัวแดง สมเสร็จ เก้งกวาง มีการเพิ่มจำนวนตลอดเวลา ส่วนอีกกรณีหากปล่อยให้การแก้ปัญหาโดยใช้ธรรมชาติแก้ธรรมชาติวันนี้ยังไม่มีใครบอกได้ว่าต้องเวลาเท่าไหร่ เพราะสภาวะโลกร้อนถือว่าเป็นเรื่องใหม่ที่นักวิชาการต้องช่วยกันศึกษาวิจัยหากเป็นในสภาวะปกติ กรณีของป่าอ่างฤาไน ถือเป็นต้นแบบที่แก้ปัญหาที่เป็นไปตามทฤษฎี แต่ที่แก่งกระจานสภาพปัญหาไม่เหมือนกับป่าอ่างฤาไน
สิ่งสำคัญที่ทุกคนในประเทศไทยต้องหันมาดู ในขณะนี้อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเป็นมรดกอาเซียน ใน ปี 2546 และกำลังเป็นอุทยานแห่งชาติที่ได้รับการเสนอให้เป็นมรดกโลกร่วมกับอุทยานแห่งชาติกุยบุรีและอุทยานแห่งชาติไทยประจันต์

็็็็็็้้้ไ
สรวุฒิ จงสกุล  , ธีรพร ชูก้าน รายงาน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น